เปรียบเทียบ วัคซีนโควิด 19เจ้าไหนดีที่สุด

1. Pfizer (สหรัฐอเมริกา) / Biontech (เยอรมันนี)

วัคซีนป้องกันโรค โควิด-19
ชื่อวัคซีนComirnaty
ประสิทธิภาพ95%
การให้วัคซีน2 โดส เว้นโดสละ 3 สัปดาห์
วัคซีนประเภทฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
การเก็บรักษา-70 องศาเซลเซียส

วัคซีนตัวนี้เป็นการร่วมงานกันระหว่าง Pfizer ของประเทศสหรัฐอเมริกาและ Biontech ของประเทศเยอรมันนี โดยจุดประสงค์ของการทำงานร่วมในครั้งนี้ก็เพื่อที่จะทำการวิจัยและผลิตวัคซีนโควิด 19 ออกมาให้มีประสิทธิภาพได้มากที่สุด ซึ่งผลที่ออกมาถือได้ว่าเป็นที่น่าพอใจครับ เพราะวัคซีนมีประสิทธิภาพที่สูง 95% อีกทั้งในปัจจุบันวัคซีนตัวนี้ยังได้รับการอนุมัติในประเทศอังกฤษ และมีออเดอร์มากกว่า 40 ล้านโดสเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีประเทศยักษ์ใหญ่อื่น ๆ ที่ได้สิทธิ์ในการสั่งซื้อ ไม่ว่าจะเป็น จีน, ญี่ปุ่น, อเมริกา และประเทศในแถบยุโรป


2. Moderna / National Institutes of Health (NIH) (สหรัฐอเมริกา)

วัคซีนป้องกันโรค โควิด-19
ชื่อวัคซีนmRNA-1273
ประสิทธิภาพ94.5%
การให้วัคซีน2 โดส ห่างกันโดสละ 4 สัปดาห์
วัคซีนประเภทฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
การเก็บรักษาเก็บในตู้เย็น 30 วัน / เก็บในอุณหภูมิ -20  องศาเซลเซียส ได้นาน 6 เดือน

การทดลองวัคซีนของ Moderna และ NIH ในเริ่มแรกนั้นได้ทดสอบกับลิง ซึ่งผลที่ออกมาคือวัคซีนสามารถป้องกันเชื้อโควิด 19 ให้กับลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมาในเฟสการทดลองที่สาม ทางผู้ผลิตก็ได้เริ่มทำการทดลองกับอาสาสมัครจำนวน 3 หมื่นคนในช่วงเดือนกรกฎาคมของปี 2020 ซึ่งผลที่ออกมาพบว่าประสิทธิภาพของวัคซีนนั้นมีเปอร์เซ็นต์สูงถึง 94.5 % ซึ่งถือว่าเป็นการทดลองที่ประสบความสำเร็จ โดยในปัจจุบันประเทศแคนาดาได้มีการอนุมัติซื้อวัคซันตัวนี้ และประเทศอิสราเอลก็ได้อนุมัติวัคซีนตามมาตรการฉุกเฉินครับ ทั้งนี้วัคซีนจะวางขายตามท้องตลาดครั้งแรกในเดือนมกราคม 2021

3. Gamaleya Research Institute (รัสเซีย)

วัคซีนป้องกันโรค โควิด-19
ชื่อวัคซีนSputnik V
ประสิทธิภาพ91.4%
การให้วัคซีน2 โดส ห่างกันโดสละ 3 สัปดาห์
วัคซีนประเภทฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
การเก็บรักษาแช่แข็ง และกำลังพัฒนาให้สามารถเก็บในอุณหภูมิตู้เย็นได้

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2020 ได้มีการรายงานว่าวัคซีน Gamaleya Research Institute ของประเทศรัสเซีย มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด 19 สูงถึง 91.4 % ซึ่งประเทศที่ได้รับการดีลในการซื้อวัคซีนตัวนี้จะมี บราซิล, แม็กซิโก, เวเนซูเอลา และอินเดีย นอกจากนี้อาเจนติน่ายังได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนนี้ในยามฉุกเฉินอีกด้วย


4. Oxford (สหราชอาณาจักร) / AstraZeneca (สวีเดน) *ไทยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีสูตรนี้ – กำลังผลิต*

วัคซีนป้องกันโรค โควิด-19
ชื่อวัคซีนAZD1222
ประสิทธิภาพมากถึง 90%
การให้วัคซีน2 โดส ห่างกันโดสละ 4 สัปดาห์
วัคซีนประเภทฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
การเก็บรักษาเก็บในตู้เย็นได้อย่างน้อย 6 เดือน

วัคซีนตัวนี้เป็นการร่วมงานกันระหว่างมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ดและบริษัทแอสตราเซนเนก้า โดยวัคซีน AZD1222 ได้เผยแพร่เอกสารงานวิชาการเป็นเจ้าแรกในการทดลองวัคซีนเฟส 3 ซึ่งในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2020 ที่ผ่านมามีการทดลองวัคซีนกับกลุ่มคนจำนวน 131 เคสในประเทศอังกฤษและบราซิล ทั้งนี้ผลการทดลองถือว่าได้เป็นไปได้ด้วยดี เพราะผลลัพธ์หลังจากการฉีดแสดงให้เห็นว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพที่มากถึง 90% ดังนั้นผลที่น่าพอใจทำให้มีหลากหลายประเทศได้ทำการดีลเพื่อที่จะซื้อมาฉีดให้ประชาชน ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกาและกลุ่มในประเทศยุโรป อีกทั้งไทยเองก็จะใช้สูตรวัคซีนตัวนี้ในการผลิตในประเทศ โดยคาดว่าจะผลิตออกมาได้ 26 ล้านโดส และคาดว่าจะใช้งานได้ในเดือนพฤษภาคม 2021 นี้ครับ ที่มาจาก: เว็บไซต์รัฐบาลไทย


5. Cansino Biologics (จีน)

วัคซีนป้องกันโรค โควิด-19
ชื่อวัคซีนConvidecia หรือเรียกในอีกชื่อว่า Ad5-nCoV
ประสิทธิภาพยังไม่ทราบ
การให้วัคซีน1 โดส
วัคซีนประเภทฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
การเก็บรักษาตู้เย็น

Convidecia หรือ Ad5-nCoV เป็นวัคซีนที่ผลิตในประเทศจีน โดยวัคซีนตัวนี้กำลังอยู่ในช่วงทดลองเฟสที่ 3 ในกลุ่มประเทศจีน, รัสเซีย, ปากีสถาน, ชิลี และแม็กซิโก ทั้งนี้การทดลองในเฟสที่ 1 และ 2 นั้นได้ผลลัพธ์ออกมาว่าวัคซีนมีความปลอดภัย รวมไปถึงสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ ดังนั้นวัคซีนตัวนี้จึงได้อนุมัติให้ฉีดแบบกำจัดในประเทศจีน ซึ่งที่ผ่านมามีการฉีดวัคซีนให้คนจีนไปแล้วประมาณ 4 – 5 หมื่นคน


6. Vector Institute (รัสเซีย)

วัคซีนป้องกันโรค โควิด-19
ชื่อวัคซีนEpiVacCorona
ประสิทธิภาพยังไม่ทราบ
การให้วัคซีน2 โดส ห่างกันโดสละ 3 สัปดาห์
วัคซีนประเภทฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
การเก็บรักษาเก็บในตู้เย็นได้ถึง 2 ปี

Vector Institute เป็นศูนย์วิจัยทางชีวภาพในประเทศรัสเซีย ซึ่งศูนย์วิจัยของที่นี้ได้ทำการจดทะเบียนทดลองวัคซีนป้องกันโควิด 19 ในเฟส 1 และ 2 โดยวัคซีนที่ใช้ทดสอบในครั้งนี้มีชื่อว่า ‘EpiVacCorona’ ทั้งนี้ส่วนประกอบในวัคซีนจะเป็น Viral proteins หรือที่รู้จักกันในชื่อเพปไทด์ วัคซีน EpiVacCorona ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการจากประธานีธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ซึ่งถือเป็นวัคซีนตัวที่ 2 ต่อจาก Gamaleya Research Institute ที่ได้รับการอนุมัติ โดยการทดสอบในเฟส 3 ที่จะทดสอบวัคซีนกับประชาชนนั้นเริ่มทดสอบไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2020 ที่ผ่านมา และมีรายงานในเดือนธันวาคมว่า ได้มีการฉีดวัคซีนให้กลุ่มอาสาสมัครไปกว่า 1,438 เคสแล้ว


7. Sinopharm (จีน)

วัคซีนป้องกันโรค โควิด-19
ชื่อวัคซีนBBIBP-CorV
ประสิทธิภาพ79.34%
การให้วัคซีน2 โดส ห่างกันโดสละ 3 สัปดาห์
วัคซีนประเภทฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
การเก็บรักษาไม่ระบุ

เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2020 ได้มีรายงานผลลัพธ์การฉีดวัคซีน BBIBP-CorV ว่าตัววัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด 19 ได้ถึง 79.34% ซึ่งประสิทธิภาพในระดับนี้ทำให้รัฐบาลของจีนได้ทำการอนุมัติวัคซีนเป็นที่เรียบร้อย โดยที่ผ่านมาวัคซีน BBIBP-CorV ได้ฉีดให้ประชาชนชาวจีนไปเกือบล้านคนแล้ว อีกทั้งยังได้มีการรายงานจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ว่าตัววัคซีนมีประสิทธิภาพสูงถึง 86% เลยทีเดียว อย่างไรตามทางผู้ผลิต BBIBP-CorV ก็ยังไม่ได้แสดงความคิดเห็นแน่ชัดต่อเปอร์เซ็นต์ที่ทดสอบในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยทาง Sinopharm ได้บอกว่าการทดสอบนั้นเกิดขึ้นจริงและถูกต้องทั้งสองประเทศ แต่ผลอาจแตกต่างกันได้ เพราะกระบวนการทดสอบวัคซีนอาจจะแตกต่างกัน

8. SinoVac (จีน) *ไทยสั่งซื้อวัคซีนตัวนี้*

วัคซีนป้องกันโรค โควิด-19
ชื่อวัคซีนCoronaVac
ประสิทธิภาพมากกว่า 50%
การให้วัคซีน2 โดส ห่างกันโดสละ 2 สัปดาห์
วัคซีนประเภทฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
การเก็บรักษาตู้เย็น

SinoVac เป็นบริษัทในประเทศจีน ที่พัฒนาและผลิตวัคซีนในชื่อ ‘CoronaVac’ ซึ่งวัคซีนตัวนี้มีการทดลองและได้รับการรายงานการนักวิจัยในประเทศบราซิลว่า ประสิทธิภาพของมันสามารถป้องกันโควิด 19 ได้มากกว่า 50% รวมไปถึงประเทศตุรกีที่ได้ผลออกมาในระดับ 91% เลยทีเดียว (อย่างไรก็ตามทั้งสองประเทศยังไม่ได้รายงานผลอย่างละเอียด) โดยประเทศที่ได้มีการสั่งซื้อวัคซีนตัวนี้คือประเทศไทย ที่สั่งล็อตแรกในจำนวน 2 แสนโดส ซึ่งจะมาถึงไทยในช่วงกุมภาพันธ์ 2021 ส่วนล็อตที่สองจะมาสมทบอีก 8 แสนโดส ในช่วงมีนาคม 2021 และล็อตสุดท้ายจะมาเพิ่มอีก 1 ล้านโดสในช่วงเมษายน 2021 ทั้งนี้รัฐบาลไทยยังได้มีประกาศอีกด้วยว่าจะฉีดให้ประชาชนฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย


9. Bharat Biotech / ICMR (อินเดีย)

วัคซีนป้องกันโรค โควิด-19
ชื่อวัคซีนCovaxin
ประสิทธิภาพยังไม่ทราบ
การให้วัคซีน2 โดส ห่างกันโดสละ 4 สัปดาห์
วัคซีนประเภทไม่ระบุ
การเก็บรักษาในอุณหภูมิห้องอยู่ได้อย่างน้อย 1 สัปดาห์

Covaxin เป็นวัคซีนที่อยู่ภายใต้การผลิตของ Bharat Biotech และ ICMR ในประเทศอินเดีย โดยวัคซีนตัวนี้ถือเป็นตัวแรกที่ได้รับการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกของอินเดีย ทั้งนี้การทดลองก็ถือว่าเป็นไปได้ดีและไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรงแต่อย่างใด อีกทั้งการทดลองในเบื้องต้นนั้นวัคซีนได้ฉีดทดลองกับลิงและหนูแฮมเตอร์ ซึ่งผลออกมาพบว่าวัคซีนสามารถช่วยป้องกันเชื้อได้ ดังนั้นวัคซีน Covaxin จึงอนุมัติให้ใช้แบบฉุกเฉินในประเทศอินเดีย