ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ พรก. ฉุกเฉิน ออกไป จนถึงวันที่ 31 พ.ค.2563 โดยมีตอนหนึ่งระบุถึงการอนุญาตให้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดได้ แต่ต้องซื้อกลับไปกินที่บ้าน งดเว้นการรวมตัวการดื่ม และห้ามกินที่ร้าน เริ่มใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. 2563 เป็นต้นไป ไม่มีข่าวไหนจะเท่ากับการขายเบียร์ คนแย่งกันเอาเบียร์ยังกะแย่งเอาข้าวก็ว่าได้ รู้หรือไม่ว่า “เบียร์” เครื่องดื่มแอลกฮอล์ทำมาจากอะไร
ขั้นตอนการผลิตเบียร์ แท็งก์ (Tank) ในการหมักเบียร์ใช้ตั้งแต่ปี 1965 – 1989 แต่ปัจจุบันใช้เป็นแก้วแทนสแตนเลส ยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาการใช้ว่าจะเปลี่ยนแท็งก์เมื่อไร ถังต้มเบียร์บุด้วยทองแดง การจะผลิตเบียร์ออกมาได้ ต้องมีวัตถุดิบทั้งหมด 3 อย่าง คือ 1) ข้าวบาร์เล่ย์ (Barley) 2) ฮ๊อบ (Hops) 3) น้ำ (Water)
ขั้นแรกคือ เอาข้าวบาร์เลย์ (Barley) ไปแช่น้ำอุ่นที่อุณหภูมิประมาณ 45 องศา พอข้าวบาร์เล่ย์ เจอน้ำและอากาศก็จะมีการแตกหน่อ แช่จนมีรากงอก จากนั้นก็เอาข้าวบาร์เล่ย์ที่แตกหน่อไปทำให้แห้งเอารากออก และจะต้องนำมาอบ ถ้าอบเย็นจะได้เบียร์สีที่เราดื่มกัน แต่ถ้าอบร้อนจะได้เบียร์ดำ ตอนนี้ข้าวบาร์เล่ย์กลายเป็น มอลต์ (Malt) แล้วต้องนำมาบดก่อนไปผสมน้ำ เอามอลต์และวัตถุดิบอื่น ๆ เช่น พวกข้าว ปลายข้าวโพด และแป้งข้าวโพด มาต้มในน้ำเดือด จากนั้นเอามอลต์ไปผสมกับน้ำร้อนและเพิ่มมอลต์ลงไปต้มอีก กระบวนการนี้คือทำแป้ง ให้กลายเป็นน้ำตาลมอลต์
ขั้นที่สองคือหลังจากที่ต้มเสร็จ ก็ใส่ฮ๊อบ (Hops) ลงไป ก็จะมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์และขมของ เบียร์ คุณสมบัติของ ฮ๊อบ (Hops) คือ ช่วยให้ตกตะกอนมีกลิ่น จะเป็นตัวกำหนดความขม ความเข้มของรสชาดเบียร์ พอเอาทุกอย่างมาใส่รวมกันแล้วต้ม จะกลายเป็นน้ำข้าวบาร์เล่ย์ คือยังไม่กลายเป็นเบียร์ เพราะมันยังไม่มีแอลกอฮอล์ ส่วนแท๊งก์หมักเบียร์ที่ยังไม่มีแอลกอฮอล์ไม่มีก๊าซไม่มียีสต์ เรียกว่า เวิร์ท (เบียร์ที่ต้มแล้วแต่ยังไม่ได้หมักฟูหรือของเหลวรสหวานที่ได้จากหมักมอลต์และน้ำ, เวิร์ท) ต้องใส่ยีสต์ (Yeast) ลงไปเกิดปฏิกิริยาจะมีการตกตะกอน ในน้ำแล้วต้ม ยีสต์อันนี้มันจะไปกินข้าวบาร์เล่ย์ที่ต้มไว้ (ขั้นตอนนี้ ข้าวบาร์เล่ย์กลายเป็นมอลต์แล้ว) จากนั้นจะมีก๊าซ C02 ยีสต์ที่ใส่ลงไปทิ้งเอาไว้ 1 อาทิตย์ พอครบปุ๊บ ก็จะบ่มไว้อีก 3 อาทิตย์ ใช้เวลาขั้นตอนนี้ทั้งหมด 1 เดือนถึงจะได้เบียร์ออกมา
คุณสมบัติของยีสต์ (Yeast) คือ สิ่งมีชนิดขนาดเล็กที่มีความอ่อนไหวสูง ซึ่งสถานะของพวกมัน จะเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องระหว่างขั้นตอนการหมักเบียร์ (ยีสต์จะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์) ซึ่งนอกจากจะให้ประสิทธิภาพในการหมักที่ดีแล้ว ยังให้กลิ่นที่บ่งบอกถึงคุณภาพ
ส่วนที่สำคัญที่สุดของการเช็คคุณภาพของเบียร์นั่นคือ การที่มีคนนั่งเทสต์เบียร์ ในบริษัทจะมีฝ่ายทดสอบคุณภาพของเบียร์ ฝ่ายนี้ต้องฝึกอบรมก่อน ถึงจะเข้าใจรสชาติเบียร์ของบริษัทได้ ทดสอบอย่างแรกโดยการดม เมื่อกลิ่นได้ที่แล้ว ต่อไปคือการทดสอบโดยการดื่ม เจ้าหน้าที่ที่ทำการทดสอบนี้ ต้องดื่มเบียร์ในช่วงท้องว่าง ยิ่งตอนหิวยิ่งดี เพราะเขาจะรู้สึกถึงรสชาติที่แท้จริงของเบียร์ การชิมจะชิมก่อนกินข้าว อาการทุกอย่างในร่างกายออกมาหมด ประสาทสัมผัสการรับรสช่วงนั้นจะดีเยี่ยมมาก ใน 1 วันจะทำการทดสอบ 1 ครั้ง ผู้ทดสอบทั้งหมด 10 คน ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชายชิม (ไม่นิยมให้ผู้หญิงชิม) เพราะผู้หญิงจะมีฮอร์โมนบางตัวอยู่ในร่างกาย
ประโยชน์ของการดื่มเบียร์ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน เป็นผลดีต่อไต ดีต่อใจ และดีต่อหัวใจ เบียร์มีส่วนผสมของไฟเบอร์ ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยเสริมสร้างให้กระดูกแข็งแรง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง พอเข้าใจแล้วใช่ไหม ทำไมคนถึงแย่งซื้อเบียร์กัน เพราะมีประโยชน์แบบนี้นี่เอง