“เส้นขนมจีน” ทำให้คนคิดว่ามาจากเมืองจีนแน่นอน เพราะมีคำว่า “ขนมจีน” และมีคำว่า “จีน” หรือจะเป็นอาหารจีนไม่ใช่เลย เดิมทีขนมจีนสันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากมอญซึ่งเรียกขนมจีนว่า “คนอมจิน” คนอม หมายความว่าจับกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน จินแปลว่าทำให้สุก ดังนั้นขนมจีนจึงน่าจะเพี้ยนมาจากคนอมจินนั่นเอง
เส้นขนมจีนแต่ละภาคก็เรียกคนอย่าง เช่น ภาษาเหนือเรียกว่า “ขนมเส้น” ภาษาอีสาน เรียก “ข้าวปุ้น” เส้นขนมจีนแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. ขนมจีนแป้งหมัก ใช้การหมักแป้งข้าวเจ้าโดย นำแป้งข้าวเจ้ามาแช่น้ำให้นิ่ม และนำไปโม่ก่อนหมักประมาณ7 วันเมื่อหมักแล้วจึงนำมานวดในเครื่องนวดแป้ง
2. ขนมจีนแป้งสด หรือขนมจีนเส้นสด ใช้วิธีการผสมแป้งข้าวเจ้า ไม่ต้องทิ้งไว้แล้วจึงนำมานวดในเครื่องนวดแป้ง หลังจากนวดแป้งแล้วจะเทแป้งใส่กระบอกมีรูเจาะไว้ที่ปลายด้านหนึ่ง เมื่อกดแป้งเข้าไปในกระบอก เส้นขนมจีนก็จะไหลออกจากปลายกระบอก เป็นเส้นกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 – 1.5 มิลลิเมตร เมื่อได้เส้นแล้วก็ทำต้มในน้ำร้อนเดือดเพื่อทำความสะอาด แล้วนำมาราดด้วยน้ำสะอาดอีกทีหนึ่ง เส้นขนมจีนที่ได้ จะจัดเรียงเอาไว้เป็นกลุ่มๆ ขนาดประมาณ 1 ฝ่ามือ บางถิ่นเรียก จับ หรือ หัว เมื่อเรียงในจานสำหรับรับประทาน จะใส่ประมาณ 3-4 จับ
สายสุขภาพจะมีลูกเล่นกับเส้นขนมจีนเพื่อให้มีสีสันดูน่ารับประทาน โดยจะเอาสีที่ได้เพื่อความปลอดภัยเลือกใช้สีที่มาจากสมุนไพรมาทำ เช่น สีฟ้า และม่วง ได้มาจาก อัญชัน สีชมพูได้มาจาก บีทรูท แก้วมังกร สีเขียว ได้มาจากมะรุมและใบเตย สีส้มได้มาจาก ดอกคำฝอย และชาแดง สีเหลือง ได้มาจากขมิ้น และสีน้ำตาลได้มาจากข้าวกล้อง เป็นต้น สามารถนำมาใช้เป็นสีในการทำขนมจีนสมุนไพรได้
เส้นขนมจีน ส่วนใหญ่จะทานกับน้ำยากะทิ น้ำยาป่า แกงเขียวหวาน แกงไตปลา ขนมจีนซาวน้ำ แล้วแต่ความนิยมของแต่ละท้องถิ่นของไทย เพราะมีการปรุงน้ำยาที่แตกต่างกัน
สำหรับคนที่รักเส้นขนมจีน ก็รู้แล้วว่าต้นกำเนิดเส้นขนมจีนมาเจอไหน รู้แล้วไปทานขนมจีนกันเถอะคะ