ทุกช่วงเวลา ทุกช่วงนาที ของการเติบโต จะให้ดีได้นั้น ต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก วัยเด็ก ใน 3 เดือนแรก ที่ลูกๆ ของเรานั้น ออกมาลืมตาดูโลก การเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างจากช่วงเวลาเกือบ 10 เดือน ที่อยู่ในครรภ์ของมารดา ทั้งสรีระร่างกายและการมองเห็น เมื่อแรกเกิดออกมา ลูกจะยังไม่สามารถมองเห็นได้ในระยะไกล แต่จะสามารถมองเห็นเพียง 20 เซนติเมตร จ้องมองค้างเพียงระยะสั้นๆ 4-10 วินาที จดจำใบหน้าพ่อแม่ได้แบบลางๆ ด้วยการมองเห็นที่ยังไม่ชัดเจน แต่การรับภาพของลูก จะค่อยๆดีขึ้น ใน 1 เดือนแรก ลูกยังคงมองเห็นได้ไม่ไกล มองเห็นได้ในระยะ 15 นิ้ว และจะมองเห็นใบหน้าคุณพ่อคุณแม่ได้ชัดเจนหลัง 3 เดือนไปแล้ว และมองเห็นได้กว้างถึง 180 องศา และในช่วงเดือนแรกๆ คอของลูกยังไม่ค่อยแข็ง เวลาคุณพ่อคุณแม่อุ้ม ต้องคอยประครองต้นคอลูกน้อย ช่วง 2 เดือนไปแล้ว คอก็จะเริ่มแข็งแรงมากขึ้น คุณแม่อาจจะจำเขานอนคว่ำ เพื่อฝึกการชูและชันคอ กล้ามเนื้อจะเริ่มแข็งแรงขึ้น ลูกก็จะเริ่มชันคอมองหน้าได้มากขึ้น 45 องศา และหันตามเสียงได้ ให้กระตุ้นเด็กโดยการใช้กรุ๊งกริ๊ง หรือโมบายห้อยให้ลูกได้มอง เพื่อเรียกความสนใจและฝึกกล้ามเนื้อคอและการมองของเด็กในการหันมองตามเสียงกริ๊งๆ
ลูกจะค่อย ๆ เริ่มปรับตัวรู้ว่ากลางคืนเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนหลับ และเริ่มมองสิ่งรอบๆ ตัวมากขึ้น ลูกน้อยยังคงร้องไห้เพื่อใช้ในการสื่อสาร ลูกจะร้องทุกครั้งที่มีเหตุผล ไม่ร้องแบบ เช่น เวลา หิว เวลารู้สึกไม่สบายตัว ปัสสาวะ อึ คุณแม่ก็ต้องคอยสังเกตเรียนรู้เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกน้อย ลูกน้อยจะนอนนานขึ้น 4-5 ชั่วโมง เมื่อเริ่มโตขึ้น การนอนก็จะปรับเวลาเพิ่มขึ้น สามารถนอนได้นานขึ้น 7-8 ชั่วโมงตอนกลางคืนโดยอาจนอนวันละประมาณ 15.5 ชั่วโมง กลางวันก็จะตื่น เล่น ประมาณ 10 ชั่วโมง เมื่อลูกน้อยวัย 2 เดือน ด้านการได้ยินของลูกน้อยก็จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เริ่มแยกเสียงของคุณพ่อคุณแม่ออก คุณแม่คุณพ่อควรพูดคุยกับลูกบ่อยๆ ลูกยิ้ม สบตา และส่งเสียงอ้อแอ้ได้ เพราะเสียงของคนเลี้ยงจะช่วยกระตุ้นการได้ยินของลูกได้เป็นอย่างดี เช่นอ่านนิทาน เปิดเพลงเบาๆ ก่อนนอนให้ลูกฟัง