เคยรู้ไหมว่าที่มาของขนมบัวลอยมาจากไหน ประวัติและที่มาของขนมไทยในตระกูลขนมหวานนั้น ส่วนใหญ่ว่ากันว่ามาจากตำหรับการคิดค้นของท้าวทองกีบม้า หญิงสาวผู้เป็นหัวหน้าแม่ครัวขนมหวานในสมัยอยุธยาตอนปลาย ราชินีแห่งขนมไทยที่ละครเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” ก็นำประวัติของท้าวทองกีบม้ามาเล่าให้ฟัง
แต่ก็มีขนมหวานอีกหลายชนิดที่คาบเกี่ยวกับวัฒนธรรมหลายชนชาติ อย่างเช่น “บัวลอย” ซึ่งเราก็ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นการคิดค้นของไทยเป็นต้นฉบับ เพราะชนชาติใกล้เคียงในแถบตะวันออก ตั้งแต่ประเทศจีนลงมาจนถึงแหลมมลายู ก็มีขนมหวานหน้าตาแบบบัวลอยอยู่ทุกท้องถิ่น
ขนมหวานสไตล์ไทยบัวลอยไข่หวานจะถูกนำมาเป็นขนมที่ใช้ในงานบุญ งานเลี้ยงพระ หรืองานเลี้ยงแขกตั้งแต่สมัยก่อน บัวลอยจะมีรสชาติอร่อยที่แตกต่างกันไป แต่คงความเป็นขนมหวานที่เหมาะรับประทานจบท้ายมื้ออาหารหลักต่าง ๆ วัตถุดิบการทำที่กลมกลืน พิถีพิถันในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม รูปลักษณะ รสชาติของแป้งนั้นเหมาะกับสาวสายหวาน
โดยแต่ละสูตรของแต่ละภูมิภาคก็แตกต่างกัน บัวลอยของไทยมาปรับตามยุคตามสมัย ปัจจุบันนี้บัวลอยสีสันคัลเลอร์ฟูล สูตรขนมบัวลอยโดยผสมแป้งข้าวเหนียวต้องใช้เผือกนึ่งสุกบดละเอียด ใช้ฟักทองเพื่อทำบัวลอยสีเหลือง ใบเตยเพื่อทำบัวลอยสีเขียว จะใช้วิธีการปั้นแป้งเป็นลูกกลม ๆ แต่มีไส้ข้างในเป็นพืชผลที่รสชาติกรุบกรอบ เข้ากับเนื้อแป้ง น้ำเปล่า และนำไปต้มกับน้ำเดือด
ก่อนที่จะตักรับประทานคู่กับน้ำเชื่อมหรือน้ำกะทิ ส่วนผสมน้ำกะทิ มีกะทิ น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลทราย เกลือป่น เนื้อมะพร้าวอ่อน, ไข่ไก่ หรือ ไข่เค็มเฉพาะไข่แดง งาขาว (สำหรับแต่งหน้า จะมีหรือไม่มีก็ได้) กลายเป็นเมนูบัวลอยไข่ได้อย่างลงตัว ในน้ำกะทิ ต้มต่ออีกสักพักจึงปิดไฟ ถ้ามีมะพร้าวอ่อนก็ใส่ได้เลย พร้อมลูกบัวลอย (กรณีต้องการทำบัวลอยไข่หวาน ก็ตอกไข่ใส่ไปในหม้อหลังจากที่ใส่บัวลอยลงไป รอจนไข่สุกจึงปิดไฟ) ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยงาขาว เสริฟขณะร้อนหรือรอให้เย็นก็ได้
ดังนั้นไม่ว่าจะซื้อหรือทำบัวลอยรับประทานเอง ก็ควรเลือกแบบพอดีกับสุขภาพ และสามารถเลือกใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติเป็นเครื่องเพิ่มรสชาติใหม่ๆได้